ทฤษฎีของกลุ่มที่เน้นการรับรู้และการเชื่อมโยงความคิด
ณัชชากัญญ์ วิรัตนชัยวรรณ (http://www.learners.in.th/blog/natchakan/386486)นักคิดกลุ่มนี้มีความเชื่อว่า การเรียนรู้เกิดจากแรงกระตุ้นภายนอกหรือสิ่งแวดล้อม (neutral - passive) การเรียนรู้เกิดจากการที่บุคคลได้รับประสบการณ์ผ่านทางประสาทสัมผัสทั้ง 5 (sensation) และความรู้สึก(feeling) คือ การตีความหรือแปลความหมายจากการสัมผัส
เทิดชัย บัวผาย (http://www.niteslink.net/web/?name=webb0ard&file=read&id=7) กล่าวว่า นักคิดกลุ่มนี้มีความเชื่อว่า การเรียนรู้เกิดจากแรงกระตุ้นภายนอกหรือสิ่งแวดล้อม(neutral- passive)การเรียนรู้เกิดจากการที่บุคคลได้รับประสบการณ์ผ่านทางประสาทสัมผัสทั้ง 5 (sensation) และความรู้สึก (feeling) อการตีความหรือแปลความหมายจากการสัมผัส การจัดการเรียนการสอนตามทฤษฎีนี้จึงเน้นให้ผู้เรียนได้รับประสบการณ์ผ่านทางประสาทสัมผัสทั้ง 5 และสร้างความสัมพันธ์ระหว่างความรู้เดิมกับความรู้ใหม่ซึ่งจะช่วยให้ผู้เรียนเกิดความเข้าใจได้เป็นอย่างดี
แฮร์บาร์ต ( http://surinx.blogspot.com/)เ ชื่อว่าการสอนควรเริ่มจากการทบทวนความรู้เดิมของผู้เรียนเสียก่อนแล้วจึงเสนอความรู้ใหม่ ต่อไปควรจะช่วยให้ผู้เรียนสร้างความสัมพันธ์ระหว่างความรู้เดิมกับความรู้ใหม่ จนได้ข้อสรุปที่ต้องการแล้วจึงให้ผู้เรียนนำข้อสรุปที่ได้ไปประยุกต์ใช้กับปัญหาหรือสถานการณ์ใหม่ ๆ
หลักการจัดการศึกษา/การสอน
1.การจัดให้ผู้เรียนได้ประสบการณ์ผ่านทางประสาทสัมผัสทั้ง 5 เป็นสิ่งจำเป็นอย่างมากต่อการเรียนรู้ของผู้เรียน
2.การช่วยให้ผู้เรียนสร้างสัมพันธ์ระหว่างความรู้เดิมกับความรู้ใหม่ จะช่วยให้ผู้เรียนเกิดความเข้าใจได้อย่างดี
3.การสอนโดยดำเนินการตาม 5 ขั้นตอนของแฮร์บาร์ต จะช่วยให้ผู้เรียนเกิดการเรียนรู้ได้ดีและรวดเร็ว ขั้นตอนดังกล่าวคือ
3.1 ขั้นเตรียมการหรือขั้นนำ (preparation) ได้แก่การเร้าความสนใจของผู้เรียนและการทบทวนความรู้เดิม
3.2 ขั้นเสนอ (presentation) ได้แก่ การเสนอความรู้ใหม่
3.3 ขั้นการสัมพันธ์ความรู้เดิมกับความรู้ใหม่ (comparison and abstraction) ได้แก่การขยายความรู้เดิมให้กว้างออกไป โดยสัมพันธ์ความรู้เดิมกับความรู้ใหม่ด้วยวิธีการต่าง ๆ เช่น การเปรียบเทียบ การผสมผสาน ฯลฯ ทำให้ได้ข้อเท็จจริงใหม่ที่สัมพันธ์กับประสบการณ์เดิม
3.4 ขั้นสรุป (generalization) ได้แก่การสรุปการเรียนรู้เป็นหลักการหรือกฎต่าง ๆ ที่จะสามารถจะนำไปประยุกต์ใช้กับปัญหาหรือสถานการณ์อื่น ๆ ต่อไป
3.5 ขั้นประยุกต์ใช้ (application) ได้แก่การให้ผู้เรียนนำข้อสรุปหรือการเรียนรู้ที่ได้ไปใช้ในการแก้ปัญหาในสถานการณ์ใหม่ ๆที่ไม่เหมือนเดิม
1.การจัดให้ผู้เรียนได้ประสบการณ์ผ่านทางประสาทสัมผัสทั้ง 5 เป็นสิ่งจำเป็นอย่างมากต่อการเรียนรู้ของผู้เรียน
2.การช่วยให้ผู้เรียนสร้างสัมพันธ์ระหว่างความรู้เดิมกับความรู้ใหม่ จะช่วยให้ผู้เรียนเกิดความเข้าใจได้อย่างดี
3.การสอนโดยดำเนินการตาม 5 ขั้นตอนของแฮร์บาร์ต จะช่วยให้ผู้เรียนเกิดการเรียนรู้ได้ดีและรวดเร็ว ขั้นตอนดังกล่าวคือ
3.1 ขั้นเตรียมการหรือขั้นนำ (preparation) ได้แก่การเร้าความสนใจของผู้เรียนและการทบทวนความรู้เดิม
3.2 ขั้นเสนอ (presentation) ได้แก่ การเสนอความรู้ใหม่
3.3 ขั้นการสัมพันธ์ความรู้เดิมกับความรู้ใหม่ (comparison and abstraction) ได้แก่การขยายความรู้เดิมให้กว้างออกไป โดยสัมพันธ์ความรู้เดิมกับความรู้ใหม่ด้วยวิธีการต่าง ๆ เช่น การเปรียบเทียบ การผสมผสาน ฯลฯ ทำให้ได้ข้อเท็จจริงใหม่ที่สัมพันธ์กับประสบการณ์เดิม
3.4 ขั้นสรุป (generalization) ได้แก่การสรุปการเรียนรู้เป็นหลักการหรือกฎต่าง ๆ ที่จะสามารถจะนำไปประยุกต์ใช้กับปัญหาหรือสถานการณ์อื่น ๆ ต่อไป
3.5 ขั้นประยุกต์ใช้ (application) ได้แก่การให้ผู้เรียนนำข้อสรุปหรือการเรียนรู้ที่ได้ไปใช้ในการแก้ปัญหาในสถานการณ์ใหม่ ๆที่ไม่เหมือนเดิม
สรุป ทฤษฎีของกลุ่มที่เน้นการรับรู้และการเชื่อมโยงความคิด นักคิดกลุ่มนี้เชื่อว่าการเรียนรู้ว่า การเรียนรู้เกิดจากแรงกระตุ้นภายนอกหรือสิ่งแวดล้อม (neutral - passive) การเรียนรู้เกิดจากการที่บุคคลได้รับประสบการณ์ผ่านทางประสาทสัมผัสทั้ง 5 (sensation) และความรู้สึก(feeling) คือ การตีความหรือแปลความหมายจากการสัมผัส การจัดการเรียนการสอนตามทฤษฏีนี้จึงเน้นให้ผู้เรียนได้รับประสบการณ์ผ่านทางประสาทสัมผัสทั้ง 5 และสร้างความสัมพันธ์ระหว่างความรู้เดิมกับความรู้ใหม่ซึ่งจะช่วยให้ผู้เรียนเกิดความเข้าใจได้เป็นอย่างดี
เอกสารอ้างอิง
http://www.learners.in.th/blog/natchakan/386486 เข้าถึงเมื่อ 18/07/54 เวลา 15.50 น.
http://www.niteslink.net/web/?name=webb0ard&file=read&id=7 เข้าถึงเมื่อ 18/07/54 เวลา 16.20 น.
http://surinx.blogspot.com/ เข้าถึงเมื่อ 18/07/54 เวลา 16.50 น.
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น