ทฤษฎีการเรียนรู้กลุ่มพฤติกรรมนิยม (Learning Theory : Behaviorism)
วัตสัน(http://www.geocities.com/aewatcharaphon/file5.htm) ทฤษฎีการวางเงื่อนไขของวัตสัน กล่าวไว้ว่า พฤติกรรมของมนุษย์และสัตว์เกิดขึ้นและแปรเปลี่ยนไปตามสภาวะแวดล้อมหรือสิ่งเร้าต่างๆ ที่ถูกจัดสร้างขึ้นหรือเป็นไปตามสภาพธรรมชาติจะช่วยให้เราสามารถควบคุมและทำนายพฤติกรรมต่างๆ ของบุคคลได้เขาสังเกตเห็นว่าพฤติกรรมเหล่านั้นเปลี่ยนแปลงไปตามปฏิกิริยาในของอินทรีย์ซึ่งหมายถึงระบบประสาทและอวัยวะส่วนต่างๆ ของร่างกายซึ่งจะเกิดการเรียนรู้และตอบสนองตามปริมาณความเข้มของสิ่งเร้าในขณะนั้น ซึ่งถือว่าเป็นการเรียนรู้ตามประสบการณ์ ภายในร่างกายของบุคคลมีพฤติกรรมมากมายที่วัตสันอธิบายว่าเป็นเพราะการทำงานของสมองรวมทั้งระบบประสาททั้งหมดเขาพยายามที่จะจำกัดขอบเขตการศึกษาค้นคว้าวิจัยเฉพาะพฤติกรรมภายนอกและการศึกษาพฤติกรรมนี้ประกอบด้วยตัวแปร 3 ประการ คือ 1.ประสามรับสัมผัสของอินทรีย์ (Organism’s receptors)
2.ประสาทสนองตอบของอินทรีย์ (Organism’s effectors)
3.ระบบประสาททั้งหมด (The nervous system)
Puvadon's Site (http://puvadon.multiply.com/journal/item/5) นักคิดกล่าวว่า นักจิตวิทยาในกลุ่มพฤติกรรมนิยมมองธรรมชาติของมนุษย์ในลักษณะเป็นกลาง คือ ไม่ดีไม่เลว (neutral-passive) การกระทำต่าง ๆ เกิดจากอิทธิพลของสิ่งแวดล้อมภายนอก พฤติกรรมของมนุษย์เกิดจากการตอบสนองต่อสิ่งเร้า (stimulus-response) การเรียนรู้เกิดจากการเชื่อมโยงระหว่างสิ่งเร้าและการตอบสนอง กลุ่มพฤติกรรมนิยมให้ความสำคัญกับ “พฤติกรรม” มาก เพราะพฤติกรรมเป็นสิ่งที่สังเกตเห็นได้ สามารถวัดและทดสอบได้
ทฤษฎีการเรียนรู้ในกลุ่มพฤติกรรมนิยม ประกอบด้วยแนวคิดสำคัญ 3 แนวคิด (ทิศนา แขมมณี. 2548 : 50) ดังต่อไปนี้
1. ทฤษฎีการเชื่อมโยงของธอร์นไดค์ (Thorndike’s Connectionism Theory)
2. ทฤษฎีการวางเงื่อนไข (Conditioning Theory)
3. ทฤษฎีการเรียนรู้ของฮัลล์ (Hull’s Systematic Behavior Theory)
ทฤษฎีพื้นฐานทางความคิด (assumption) ของทฤษฎีกลุ่มพฤติกรรมนิยม คือ พฤติกรรมทุกอย่างเกิดขึ้นโดยการเรียนรู้และสามารถสังเกตได้ พฤติกรรมแต่ละชนิดเป็นผลรวมของการเรียนรู้ที่เป็นอิสระหลายอย่างเสริมแรง (Reinforcement) ช่วยให้พฤติกรรมเกิดขึ้น
(http://www.learners.in.th ) นักคิดในกลุ่มนี้มองธรรมชาติของมนุษย์ในลักษณะที่เป็นกลาง คือ ไม่ดี – ไม่เลว การกระทำต่างของมนุษย์เกิดจากอิทธิพลของสิ่งแวดล้อมภายนอก พฤติกรรมของมนุษย์เกิดจากการตอบสนองต่อสิ่งเร้า(stimulus response) การเรียนรู้เกิดจากการเชื่อมโยงระหว่างสิ่งเร้าและการตอบสนอง กลุ่มพฤติกรรมนิยมให้ความสนใจกับ พฤติกรรม มากเพราะพฤติกรรมเป็นสิ่งที่เห็นได้ชัด สามารถวัดและทดสอบได้ ทฤษฏีการเรียนรู้ในกลุ่มนี้ ประกอบด้วยแนวคิดสำคัญๆ 3 แนวด้วยกัน คือ
- ทฤษฎีการเชื่อมโยง (Classical Connectionism) ของธอร์นไดค์ (Thorndike) มีความเชื่อว่าการเรียนรู้เกิดจาการเชื่อมโยงระหว่างสิ่งเร้ากับการตอบสนอง ซึ่งมีหลายรูปแบบ บุคคลจะมีการลองผิดลองถูกปรับเปลี่ยนไปเรื่อยๆ จนกว่าจะพบรูปแบบการตอบสนองที่สามารถให้ผลที่พึงพอใจมากที่สุด
- ทฤษฎีการวางเงื่อนไข(Conditioning Theory) ประกอบด้วยทฤษฏีย่อย 4 ทฤษฏี ดังนี้ 1) ทฤษฏีการวางเงื่อนไขแบบอัตโนมัติของพาฟลอฟ (Pavlov’s Classical Conditioning) เน้นการตอบสนองต่อสิ่งเร้าที่วางเงื่อนไข สรุปแนวคิดตามทฤษฏีนี้ได้ว่า การเรียนรู้ของสิ่งมีชีวิตเกิดจากการตอบสนองต่อสิ่งเร้าที่วางเงื่อนไข 2) ทฤษฏีการวางเงื่อนไขแบบอัตโนมัติของวัตสัน(Watson’s Classical Conditioning) เน้นการตอบสนองต่อสิ่งเร้าที่วางเงื่อนไขเช่นกัน 3) ทฤษฏีการวางเงื่อนไขแบบต่อเนื่องของกัทธรี(Guthrie’s Contiguous Conditioning) เน้นหลักการจูงใจ 4) ทฤษฏีการวางเงื่อนไขแบบโอเปอร์แรนต์ของสกินเนอร์(Skinner’s Operant Conditioning) เน้นการเสริมแรงหรือให้รางวัล
- ทฤษฏีการเรียนรู้ของฮัลล์ (Hull’s Systematic Behavior Theory) มีความเชื่อว่าถ้าร่างกายเมื่อยล้า การเรียนรู้จะลดลง การตอบสนองต่อการเรียนรู้จะเกิดขึ้นได้ดีที่สุดเมื่อได้รับแรงเสริมในเวลาใกล้บรรลุเป้าหมาย
สรุป
ทฤษฎีการเรียนรู้กลุ่มพฤตกรรมนิยม (Behaviorism) มนุษย์เกิดมาลักษณะที่เป็นกลางคือ ไม่ดีไม่เลว (neutral-passive) การกระทำต่าง ๆ ของมนุษย์เกิดจากอิทธิพลของสิ่งแวดล้อมภายนอก พฤติกรรมของมนุษย์เกิดจากการตอบสนองต่อสิ่งเร้า (stimulus-response) การเรียนรู้เกิดจากการเชื่อมโยงระหว่างสิ่งเร้าและการตอบสนอง กลุ่มพฤติกรรมนิยมให้ความสนใจกับ “พฤติกรรม” มาก เพราะพฤติกรรมเป็นสิ่งที่เห็นได้ชัด สามารถวัดได้และทดสอบได้
เอกสารอ้างอิง
http://www.geocities.com/aewatcharaphon/file5.htm เข้าถึงเมื่อ 19/07/54 เวลา 17.20 น.
http://puvadon.multiply.com/journal/item/5 เข้าถึงเมื่อ 19/07/54 เวลา 17.30 น.
http://www.learners.in.th เข้าถึงเมื่อ 19/07/54 เวลา 17.50 น.
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น