วันจันทร์ที่ 25 กรกฎาคม พ.ศ. 2554

นวัตกรรมทางการศึกษา (Educational Innovation)

(http://school.obec.go.th/sup_br3/t_2.htm) ได้กล่าวถึงนวัตกรรมการศึกษาไว้ดังนี้
นวัตกรรม เป็นศัพท์บัญญัติของคณะกรรมการพิจารณาศัพท์วิชาการศึกษา กระทรวงศึกษาธิการ ซึ่งแต่เดิมใช้คำว่า นวกรรม เป็นคำมาจากภาษาอังกฤษว่า Innovation แปล ว่า การทำสิ่งใหม่ๆ หรือสิ่งใหม่ที่ทำขึ้นมา คำว่า นวกรรม มาจากคำบาลีสันสฤต คือ นว หมายถึง ใหม่ และกรรม หมายถึง ความคิด การปฏิบัติ
นวัตกรรม (Innovation) หมายถึง ความคิดและการกระทำใหม่ ๆ ที่นำมาใช้ในการปรับปรุงเปลี่ยนแปลงการดำเนินงานให้มีประสิทธิภาพสูงขึ้น
นวัตกรรมทางการศึกษา หมายถึง ความคิดและวิธีการปฏิบัติใหม่ ๆ ที่ส่งเสริมให้กระบวนการทางการศึกษามีประสิทธิภาพ


(http://www.learners.in.th/blog/22631/235365) กล่าวไว้ว่า คำว่า “นวัตกรรมการศึกษา” จะประกอบด้วย 2 คำคือ คำว่า “นวัตกรรม” และคำว่า “การศึกษา”
คำว่า “นวัตกรรม” ตามความหมายที่สรุปไว้แล้วนั้น หมายถึง การนำแนวคิดใหม่ วิธีการใหม่ หรือสิ่งใหม่มาใช้ทั้งหมดหรือการพัฒนา ปรับปรุง เปลี่ยนแปลง หรือเพิ่มเติม แนวคิดเดิม วิธีการเดิม หรือสิ่งเดิมเพื่อช่วยให้การทำงานมีประสิทธิภาพ และประสิทธิผลดียิ่งขึ้น
ส่วนคำว่า “การศึกษา” ตามพระราชบัญญัติการศึกษาแห่งชาติ พ.ศ. 2542 หมายความว่ากระบวนการการเรียนรู้เพื่อความเจริญงอกงามของบุคคลและสังคมโดยการถ่ายทอดความรู้ การฝึก การอบรม การสืบสานทางวัฒนธรรม การสร้างสรรค์จรรโลงความก้าวหน้าทางวิชาการ การสร้างองค์ความรู้อันเกิดจากการจัดสภาพแวดล้อม สังคม การเรียนรู้และปัจจัยเกื้อหนุนให้บุคคลเรียนรู้อย่างต่อเนื่องตลอดชีวิต


(http://ceit.sut.ac.th/km/wordpress/?p=138) กล่าวไว้ว่า


“นวัตกรรมทางการศึกษา” (Educational Innovation) หมายถึง การนำเอาสิ่งใหม่ซึ่งอาจจะอยู่ในรูปของความคิดหรือการกระทำ รวมทั้งสิ่งประดิษฐ์ก็ตามเข้ามาใช้ในระบบการศึกษา เพื่อมุ่งหวังที่จะเปลี่ยนแปลงสิ่งที่มีอยู่เดิมให้ระบบการจัดการศึกษามีประสิทธิภาพยิ่งขึ้น ทำให้ผู้เรียนสามารถเกิดการเรียนรู้ได้อย่างรวดเร็วเกิดแรงจูงใจในการเรียน และช่วยให้ประหยัดเวลาในการเรียน เช่น การสอนโดยใช้คอมพิวเตอร์ช่วยสอน การใช้วีดีทัศน์เชิงโต้ตอบ (Interactive Video) สื่อหลายมิติ (Hypermedia) และอินเตอร์เน็ต เหล่านี้เป็นต้น


สรุป
จากความหมายของนวัตกรรมทางการศึกษาข้างต้นสามารถสรุปได้ว่า นวัตกรรมทางการศึกษา คือ การนำเอาสิ่งใหม่ซึ่งอาจจะอยู่ในรูปของความคิด การกระทำรวมทั้งสิ่งประดิษฐ์เข้ามาใช้ในระบบการศึกษา เพื่อทำให้ผู้เรียนสามารถเกิดการเรียนรู้ได้อย่างรวดเร็ว เกิดแรงจูงใจในการเรียน และทำให้การเรียนรู้มีประสิทธิภาพ อีกทั้งยังช่วยให้ประหยัดเวลาในการเรียนการสอน


เอกสารอ้างอิง


http://school.obec.go.th/sup_br3/t_2.htm. เข้าถึงเมื่อ 25/07/54.
http://www.learners.in.th/blog/22631/235365. เข้าถึงเมื่อ 25/07/54
http://ceit.sut.ac.th/km/wordpress/?p=138. เข้าถึงเมื่อ 25/07/54.



ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น